เทคโนโลยีและการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในอนาคตและการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม



องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มี 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, บุคลากร, ข้อมูลและสารสนเทศ

1.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มี 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, บุคลากร, ข้อมูลและสารสนเทศ
     คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ electronic device (อิเล็กทรอนิกส์ ดีไว) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์, บุคลากร, ข้อมูลและสารสนเทศ



Hardware (ฮาร์ดแวร์)

Hardware (ฮาร์ดแวร์)

1. Hardware (ฮาร์ดแวร์) คือ ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง peripheral (เพอริพีรีว) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ , เครื่องพิมพ์ซีพียู, เมนบอร์ด, แรม, การ์ดจอ, ไดร์ฟ ดีวีดี, เคส, จอภาพ, คีบอร์ด, เมาส์  เป็นต้น
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย 
     - หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้นหน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทางหน่วยแสดงผลลัพธ์
     - หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราว ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป
     - หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็บข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก


Software (ซอฟต์แวร์)

Software (ซอฟต์แวร์)

2. Software (ซอฟต์แวร์) คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใด ๆ เนื่องจากต้องมี Software (ซอฟต์แวร์) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ Programming Language (โปรแกรมิงแลงเกท) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ Programmer (โปรแกรมเมอร์) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
     - ซอฟต์แวร์ระบบ System Software (ชิสเต็ม ซอฟแวร์) โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป
     - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ Application Software (แอพพลิเคชัน ชอฟแวร์) จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน


บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์)



บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์)

3. บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ user (ยูเชอร์)

ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน)


ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน)

4. ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ โดยความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ
     
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้สารสนเทศที่ดี จะช่วยให้ ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น และช่วยให้การประมาณการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือยอดขายใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุด

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


2. หลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

         การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มีข้อควรพิจารณา เพื่อให้ได้คุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ และได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ มีข้อควรพิจารณาดังนี้
       
     1. ลักษณะงานที่ใช้ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มีลักษณะงานที่ควรพิจารณาประกอบในการเลือกซื้อ เช่น นำไปใช้กับงานมัลติมีเดีย ใช้เล่นเกม หรืองานที่มีลักษณะของกราฟิกสูงควรเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แต่ถ้าลักษณะงานมีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนย้ายบ่อยให้พิจารณาคอมพิวเตอร์แบบพกพา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ cpu      2. ซีพียู (CPU) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ความเร็วของซีพียูมีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz) ถ้าหากมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เช่น AMD FX-6300 2.4GHz     
      







ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมนบอร์ด3. เมนบอร์ด (Main Board) เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นแผงวงจรที่เชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเข้าด้วยกัน ต้องเลือกให้สามารถรองรับกับ CPU ที่ได้จัดเตรียมไว้ ซ็อกเก็ตมีตำแหน่งที่ติดตั้ง ซีพียู ซึ่งต้องตรวจสอบซ็อกเก็ตตรงกับ CPU หรือไม่ นอกจากนี้ให้พิจารณาซิปเซ็ตที่รองรับเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงรองรับอุปกรณ์ต่างๆด้วย
    



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แรม  4. แรม (RAM) สิ่งที่ควรพิจารณาคือชนิดของแรมและความเร็ว DDR3 ที่มีความเร็วสูงกว่า DDR2 เครื่องคอมพิวเตอร์ควรใช้แรมไม่ควรต่ำกว่า 2 GB ส่วนเรื่องจำนวน Slot ความเร็ว RAM ให้พิจารณาร่วมกับข้อจำกัดของ Main Board
   





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฮาร์ดดิสก์   5. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) การเลือก Hard disk ให้พิจารณาความจุ ความเร็วรอบไม่น้อยกว่า 7,200 รอบต่อวินาที การเชื่อมต่อปัจจุบันจะเป็นแบบ SATA II และการเลือกซื้อควรพิจารณาระยะเวลาการรับประกันประกอบ
     








ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ด-จอ6. การ์ดจอ (Display Adapter) หรือ กราฟิกการ์ด (Graphic Card) ให้พิจารณาการใช้งานถ้างานมีลักษณะกราฟิกสูง เช่น 3D งานกราฟิก เกม ตรวจสอบการเชื่อมต่อ (Slot) ที่รองรับการเชื่อมต่อกับ Main board ปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการ์ดจอที่มีมากับเมนบอร์ดอยู่แล้ว
    



  7. DVD Drive คุณสมบัติในปัจจุบันไม่แตกต่างกันมากนัก ควรเลือกที่มีความเร็วในการเขียนข้อมูลสูง เช่น 52X  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ dvd drive      8. การเลือกซื้อจอคอมพิวเตอร์ ให้พิจารณาความละเอียด จอคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเป็นนิ้วทำการวัดในแนวเส้นทแยงมุม ความละเอียด (Resolution) ตัวอย่าง เช่น HD 1920 x 1080 สัดส่วนหน้าจอ (Aspect Ratio) ส่วนใหญ่จะมีขนาด 16:9 และพอร์ต (Ports) ในการเชื่อมต่อ พอร์ตพื้นฐานที่มีคือ VGA / DVI / D-Sub และล่าสุดของพอร์ตก็คือ HDMI ซึ่งมีความคมชัดสูงมาก  
    



   9. การรับประกันจากบริษัทผู้แทนจำหน่ายให้พิจารณาระยะเวลาและเงื่อนไขการรับประกันเป็นสำคัญ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gif ตกแต่งงาน


3. วิธีการกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์

วิธีการกำหนดคุณลักษณะคอมพิวเตอร์
                เมื่อทราบระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์แล้วว่าเป็นผู้ใช้งานในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับการทำงานในแต่ละระดับนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer :PC) ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแตกต่างกันไป โดยมีวิธีการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
๑)สำหรับการใช้งานที่เน้นการทำงานพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้งานเพื่อสร้างเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ รวมถึงการเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีที่สูงนัก สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ควรเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเน้นคุณลักษณะของเครื่องสูง มีราคาย่อมเยาว์ คุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Celeron D, Pentium 4, Pentium D หรือ AMD Sempron, AMD Athlon 64x2
แรม
ประเภท DDR2-SDRAM ขนาด 512 MB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
เลือกประเภทที่มีชิปแสดงผล ชิปเสียง และชิปเน็ตเวิร์กมาด้วย เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มอีก เนื่องจากติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดแล้ว และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA ขนาดความจุ 160 GB เป็นต้นไป ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น จอแสดงผล ควรเลือกแบบซีอาร์ที ขนาด ๑๗ นิ้ว ไดรฟ์ซีดี ดีวีดี โมเด็ม ลำโพง และอื่นๆ เลือกรุ่นที่สามารถใช้งานได้ในราคาปานกลางก็เพียงพอ
๒)สำหรับการใช้งานด้านกราฟิก สำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลาย เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานกราฟิก งานเขียน โปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยอาจมีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองใช้งาน  อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และเป็นเครื่องที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ช้าเกินไป และสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆได้หลากหลาย ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo หรือ AMD Athlon 64x2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 1 GB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
มีสล็อต PCl Express x16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆอาจเลือกแบบ On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 250 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCl Express x16 ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 256 MB ขึ้นไป โดยเลือกชิปแสดงผลเป็น nVidia GeForce FX 6800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon x1300 ขึ้นไป
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๑๙ นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องสำรองไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเลือซื้อได้ตามความต้องการ และหากต้องการเก็บข้อมูลปริมาณมาก อาจจะเลือกบลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
๓) สำหรับการใช้งานกราฟิกขั้นสูง สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรมต่างๆโดยเฉพาะงานที่ต้องแสดงผลในรูปแบบสามมิติ รวมถึงการเล่นเกมสามมิติ ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีคุณลักษณะสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมเป็นดังนี้
หากใช้งานด้านตัดต่อภาพยนตร์ อาจเพิ่มแรมเป็น 4 GB ฮาร์ดดิสก์ Serial ATA-II และขนาด 600 GB ขึ้นไป การ์ดจอประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น Vidia Quadro การ์ดเสียงและลำโพงคุณภาพสูงแบบ Surround และอาจเลือกใช้บลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
๔) สำหรับเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ต้องการเล่นเกมได้อย่างเต็มอรรถรสและไม่ติดขัด ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ความจุ และมาตรฐานต่างๆอย่างไร ก็ตามการเล่นเกมมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างอื่นมากมายทั้งต่อตนเองและสังคม ดังนั้น จึงควรรู้จักบริหารเวลาให้เหมาะสม ไม่ควรเล่นเกมมากจนกลายเป็นคนติดเกม ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้เล่นเกม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo , Intel Core 2 Quad หรือ AMD Athlon 64x2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 4 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 2 GB จำนวน  ๒ แถว เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-Channel
เมนบอร์ด
รองรับเทคโนโลยี Dual-Channel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และเทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCl Express x16 จำนวน ๑-๒ ช่อง เพื่อรองรับการทำ SLI หรือ CrossFire
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCl Express  ที่มีขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก nVidia GeForce FX 8800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon HD1300 ขึ้นไป อาจพิจารณาการทำ SLIหรือ CrossFire ด้วย
การ์ดเสียง
ใช้การ์ดเสียงคุณภาพดีแบบ Multi-Channel
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbpsหรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๒๒ นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป

การสำรวจราคา
เมื่อผู้ใช้กำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความต้องการแล้ว ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จากร้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ แล้วนำราคาแต่ละแหล่งมาเปรียบเทียบ เพื่อให้ราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งตรงกับคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการอีกด้วย
การสำรวจบริการหลังการขาย
โดยดูระยะเวลารับประกันของอุปกรณ์ต่างๆ และการให้บริการหลังการขาย เช่น หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา ผู้ใช้สามารถติดต่อศูนย์บริการนี้ได้อย่างสะกวดและรวดเร็ว โดยต้องมีผู้ให้คำแนะนำและสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหาการใช้งานเบื้องต้นได้ รวมทั้งยังสามารถบริการไปซ่อมที่บ้าน (on-site maintenance) ของลูกค้าได้อีกด้วย
การตรวจสภาพอุปกรณ์ก่อนอกจากร้าน
เมื่อได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพและการใช้งานเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะออกจากร้านก็ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยขีดข่วนหรือมีตำหนิ มีใบเสร็จรับเงินและใบเสร็จรับประกันอย่างครบถ้วน หากมีปัญหาอะไรสามารถกลับมาที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ต่างๆได้

4. การดูแลและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
        1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาทีก่อนลงมือทำความสะอาด
        2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
        3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
        4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
        5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
        6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
        7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
        8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

5.ไวรัสคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 5.ไวรัสคอมพิวเตอร์

1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัส
ที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน
ขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียก
ระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน
การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้นถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรม มา ก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง
ที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ใน
โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป

3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 5.ไวรัสคอมพิวเตอร์จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดดๆและจะไม่มีการ

เข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโป รแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้

4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปล ี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อกา รตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มข ึ้นได้
เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

6. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น